วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาวะเงินเฟ้อกับธุรกิจ

ปัจจุบันคำว่า “เงินเฟ้อ” มักจะเผยแพร่ให้ได้เห็นและได้ฟังกันแทบทุกวันตามสื่อต่าง ๆ อันเนื่องจาก ทุกประเทศต้องประสบกับภาวะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลพวงให้อัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจไม่เติบโตตามที่คาดไว้ ในขณะเดียวกันประชาชนต้องเผชิญกับปัญหา “ข้าวยาก หมากแพง” เนื่องจาก สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันมีราคาสูงขึ้น หรือที่นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า ปัญหาเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ เกิดได้อย่างไร ?
เข้าใจกันง่าย ๆ ก็คือ เงินเฟ้อจะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสินค้าต่าง ๆ โดยรวมมีการปรับตัวสูงขึ้นอันเนื่อง มาจากต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น หรือความต้องการสินค้า/บริการมีมากกว่าการผลิตสินค้าและบริการใน ขณะนั้นๆ หรือเกิดจากการกักตุนสินค้าที่จำเป็นเพื่อเก็งกำไร เช่น ข้าว น้ำมัน ฯลฯ อันเป็นผลให้ระดับราคา สินค้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่สามารถหาภาวะหยุดนิ่งได้ ภาวะเงินเฟ้อก็จะทำให้ค่าของเงินลดลง เพราะสินค้า มีราคาแพงขึ้น เงินที่มีค่าเท่าเดิมจะซื้อของได้น้อยลง ทำำให้เกิดการคาดคะเนราคาสินค้าส่งผลให้ประชาชน มีเงินเหลือน้อยลง หรืออาจแปรเปลี่ยนเป็นการซื้อสินค้าเก็บไว้ใช้
รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ
สรุปผลการประมาณการ ณ เมษายน 2551
ร้อยละ
ปี 2550
ปี 2551
ปี 2552
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(เดิม)
4.8
4.8 - 6.0
(4.5 - 6.0)
4.5 - 6.0
(4.5 - 6.0)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
(เดิม)
1.1
1.5 - 2.5
(1.3 - 2.3)
2.0 - 3.0
(1.5 - 2.5)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป
(เดิม)
2.3
4.0 - 5.0
(2.8 - 4.0)
2.8 - 4.3
(1.8 - 3.3)
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี
2.00 - 3.15
1.75 - 4.00

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
สหกรณ์ออมทรัพย์และภาวะเงินเฟ้อ
หากหันมองกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินรูปแบบหนึ่ง มีจำนวนสมาชิก ปี 2550 กว่า 2.29 ล้านคน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่มีรายได้ประจำ การดำเนินงาน ของสหกรณ์ออมทรัพย์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นขนาดของสหกรณ์ ที่จัดเป็นขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก ร้อยละ 91.20 ดำเนินธุรกิจโดยรวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 767,025 ล้านบาท สินทรัพย์รวมทั้งระบบกว่า 730,000 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ณ วันสิ้นปี 2550 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 7,816,545 ล้านบาท เทียบได้เป็นร้อยละ 9.35 ของสินทรัพย์รวมธนาคารพาณิชย์
แสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนสหกรณ์ออมทรัพย์ ในรอบ 5 ปี

หากพิจารณาโครงสร้างเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์จากแหล่งที่มาของเงินทุนที่สำคัญในรอบ 5 ปี พบว่ายังคงใช้ทุนภายในที่ได้จากหุ้นซึ่งเกิดจากการสะสมรายเดือน และเงินฝากของสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ ด้านการใช้เงินทุนของสหกรณ์ นำไปลงทุนในลูกหนี้เงินกู้และหาผลตอบแทนจากการลงทุน ในหลักทรัพย์/ ตราสารหนี้เป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่าแหล่งเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์มาจากเงินออมของสมาชิกเกือบ ทั้งสิ้น ในช่วงของภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น มนุษย์เงินเดือนที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับ ภาระค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น แต่เงินในกระเป๋าจากเงินเดือนที่ได้รับยังคงเท่าเดิม อาจส่งผลให้อัตราการออม โดยการถือหุ้นรายเดือน หรือเงินฝากในสหกรณ์ลดน้อยลง หรือสมาชิกบางรายถือหุ้นครบตามระเบียบแล้ว ก็จำเป็นต้องระงับการส่งค่าหุ้นไป ดังนั้นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงินทุนสหกรณ์อาจกล่าวได้ว่าต้องมาจาก ปัจจัยของผลตอบแทนที่ดึงดูดใจให้สมาชิกอยากออมมากขึ้น ตลอดจนจากความมั่นคงด้านฐานะการเงิน ของสหกรณ์ด้วย
วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล องค์กรภาคเอกชน หรือกระทั่งอาจมาถึง ธุรกิจสหกรณ์ออมทรัพย์ เนื่องจากสมาชิกของสหกรณ์ก็คือประชาชนผู้มีเงินเดือนประจำ ดังนั้นควรต้องหันมา เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ปรับปรุงแก้ไขการบริหารงาน ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกเพื่อสร้าง เกราะป้องกันจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อาทิ.....
ร่วมกันรณรงค์สร้างจิตสำนึกในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรง ชีวิตลดความฟุ่มเฟือย ไม่สร้างหนี้สินเพิ่มและที่สำคัญต้องฝึกตนเองให้มีวินัยทางการเงิน สหกรณ์ควรมีการวางแผนทางการเงินเพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคต ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ทางการเงินให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินรับฝาก วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนต่างๆ ไม่ควรละเลยในการดูแลปริมาณเงินในสหกรณ์ การนำเงินของ สหกรณ์ไปปล่อยกู้หรือลงทุนในหลักทรัพย์ คำนึงถึงความสอดคล้องของแหล่งเงินทุนที่ได้มากับการใช้ไป และปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ ตลอดจนมีการกระจายความเสี่ยงและตรวจสอบความมั่นคง เชื่อถือได้ของ สถาบันที่ไปลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงและมีความคุ้มทุน ในช่วงภาวะดอกเบี้ยที่อาจเป็นขาขึ้น สหกรณ์ต้องติดตามข่าวสารสภาวการณ์ของตลาดเงินอย่าง สม่ำเสมอ อนึ่ง ไม่ควรนำระบบถอนเงินรับฝากอัตโนมัติด้วยเครื่องเอทีเอ็มมาใช้เพื่อป้องกันเงินที่อาจไหล ออกจากสหกรณ์อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ สหกรณ์ควรปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องของสหกรณ์ พ.ศ. 2550 และควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมด้านการออมเงินกับสหกรณ์ หรือกำหนด แคมเปญรูปแบบเงินออมใหม่ๆ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มทุนภายในของสหกรณ์ สำหรับใช้ในการดำเนิน ธุรกิจแล้ว ยังเป็นการจูงใจให้สมาชิกภักดีกับสหกรณ์ไม่หันไปใช้บริการกับสถาบันการเงินภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น