วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พืชสร้างบรรยากาศโลก

พืชสร้างบรรยากาศโลก “ระบบนิเวศ” คือ สายสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่ต้องพึ่งพา อาศัยกันเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ โดยระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดคือ “โลก” หรือ "ดาวพระเคราะห์"
โลกในยุคแรกเริ่มนั้นยังเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก จนเมื่อราว 1,400 ล้านปีก่อนสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและพืชกลุ่มต่าง ๆ อาทิ มอส ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต หญ้าถอดปล้อง หวายทะนอย ก็ค่อยๆ อุบัติขึ้นมาสร้างความเขียวชอุ่มให้กับพื้นโลกและใช้คลอโรฟิลล์นำคาร์บอน ไดออกไซด์ มาสังเคราะห์เป็นอาหาร และผลิตออกซิเจนเติมสู่บรรยากาศ ช่วยสร้างก๊าซโอโซนห่อหุ้มโลก และนำมาซึ่งสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตก่อเกิด ระบบนิเวศอันหลากหลายที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ดังเช่นปัจจุบัน
ระบบนิเวศในประเทศไทย
ประเทศไทย นับเป็นแหล่งอุดมไปด้วยระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย ซึ่งจำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ ระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศแหล่งน้ำระบบนิเวศบนบก แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ป่าผลัดใบ และ ป่าไม่ผลัดใบ
- ป่าไม่ผลัดใบ ป่าที่ประกอบไปด้วยต้นไม้ที่ส่วนใหญ่จะมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี

ป่าสนเขา ป่าสนเขาเป็นหนึ่งในพืชสังคมเมืองหนาว ที่มีพื้นป่าค่อนข้างโล่งเตียน มีไม้ใหญ่และไม้พุ่มกระจายตัวอยู่ห่างๆ ส่วนมากพบเป็นหย่อมๆ ในภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เลย ศรีสะเกษ เป็นต้น พันธุ์ไม้ที่พบ ค่อนข้างจำกัดต้องมีการปรับตัวให้สามารถทนต่อความแตกต่างของอุณหภูมิในหน้า ร้อนและหน้าหนาวได้เป็นอย่างดี ไม้เด่นในป่าประเภทนี้จึงได้แก่ สน เช่น สนสองใบและสนสามใบ ไม้เหียง ไม้พลวง ก่อ กำยาน ตับเต่าต้น และพืชชั้นล่างเช่นหญ้าชนิดต่างๆ อาทิเช่น หญ้าขน หญ้าคมบาง และกระเจียว เป็นต้น
ป่าดิบชื้น ป่า ดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน เป็นป่าที่มีฝนตกยาวนานกว่า 8 เดือน ดินจึงมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เหมาะต่อการเกิดของพรรณไม้หลากหลายชนิดที่เบียดกันจนแน่นขนัด ป่าชนิดนี้พบอยู่เฉพาะภาคตะวันออก ในจังหวัดจันทบุรีตอนล่าง และตราด ส่วนภาคใต้พบตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง ไปจนถึงนราธิวาส พันธุ์ไม้ที่พบ คือ กลุ่มไม้ยืนต้นครอบครัวไม้ยางและไม้ตะเคียน ได้แก่ ยางมันหมู, ยางยูง, ยางเสียน, ตะเคียนทอง, ตะเตียนแก้ว นอกจากนี้ยังพบพืชกลุ่ม สะตอ, เหรียง, หยี, โสกเหลือง, พญาสัตบรรณ ฯลฯ ส่วนกลุ่มพืชบนดิน ได้แก่ปาล์ม, ระกำ, หวาย, เถาวัลย์หลาหชนิด ตามลำต้นและกิ่งของต้นไม้มักพบพืชอิงอาศัย เช่น มอส เฟิร์น และกล้วยไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น

- ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้น บริเวณภาคใต้ที่เริ่มทิ้งใบตั้งแต่ปลายฤดูหนาว แล้วเริ่มผลิใบใหม่หลังจากทิ้งใบไม่นาน
ป่าเบญจพรรณ ป่าเบญจพรรณเป็นป่าโป่รง ไม่รกทึบ แสงตกพื้นได้มาก จึงพบหญ้าได้หลายชนิด มักอยู่ในบริเวณที่ฤดูกาลแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนมีช่วงแล้งยาวนานกว่า 3 เดือน จะพบได้ในบริเวณที่ราบหรือตามเนินเขา บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่พบ ป่าเบญจพรรณ คือป่าที่มีพรรณ ไม้เด่น 5 ชนิด ตามความหมายของคำว่า “เบญจะ” คือ ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่ และไม้ชิงชัง นอกจากนี้ยังพบ ไม้มะค่าโมง ไม้ตะแบกใหญ่ ไม้ไผ่ และพบไม้อิงอาศัย เช่น กระแตไต่ไม้ กระเช้าสีดา เอื้องกะเรกะร่อน เอื้องเงิน เป็นต้น

ทุ่งหญ้า
ทุ่งหญ้าหรือทุ่งสะวันนา เป็นป่าในเขตร้อนแห้งแล้งที่เกิดขึ้นภายหลังจากป่าธรรมชาติอื่น ๆ ถูกทำลาย เช่น ไฟป่า มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าปนกับป่าโปร่งขนาดเล็ก โดยมีพืชหลัก คือ หญ้าชนิดต่าง ๆ มีไม้ยืนต้นทนไฟแทรกอยู่ห่าง ๆ พื้นป่าโล่งเตียนสามารถพบทุ่งหญ้าได้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง พันธุ์ไม้ในป่าหญ้า พืชที่พบมากที่สุดในป่าหญ้า ได้แก่ หญ้าชนิดต่าง ๆ เนื่องจากมีวงจรชีวิตสั้น เมล็ดเบามีขนาดเล็ก สามารถกระจายตัวลมได้รวดเร็ว หญ้าจึงเข้าครอบครองความใหญ่ในสังคมพืชชนิดนี้ เช่น หญ้าคา หญ้าขนตาช้าง หญ้าโขมง หญ้าเพ็ก หญ้าแฝกหอม สาบเสือ เป็นต้น
ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด ระบบนิเวศแหล่งน้ำทะเล และ ระบบนิเวศแหล่งน้ำกร่อย
ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ คือ
- ระบบนิเวศแหล่งน้ำไหล ได้แก่ แม่น้ำ ลำธร น้ำตก ลำคลอง เป็นระบบนิเวศแบบเปิด มีกระแสน้ำไหลเวียน พัดพาแร่ธาตุ สารอาหารไปยังแหล่งน้ำอื่นๆ ได้อยู่ตลอดเวลา พันธุ์พืชที่พบ ได้แก่ เฟิร์น มอส ไทร ไคร้น้ำ เนื่องจากเป็นความชุ่มชื้นของละอองน้ำ พืชส่วนใหญ่บนผิวน้ำมีลักษณะเป็นกอลอยไปตามน้ำ เช่น ผักตบชวา ผักเป็ด ผักบุ้ง นอกจากนี้ยังมีพืชตามแนวชายฝั่งและบริเวณน้ำตื้น เช่น ต้นกก ส่วนสิ่งมีชีวิตที่พบ จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างที่เหมาะสมต่อการว่ายน้ำ เช่น ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นต้น
- ระบบนิเวศแหล่งน้ำนิ่ง เช่น สระน้ำ หนอง บึง เป็นระบบนิเวศแบบปิด เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีน้ำขังตลอดปี น้ำในแอ่งน้ำจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ การเติมน้ำจะได้รับจำน้ำฝน การเติมน้ำจะได้รับจากน้ำฝน น้ำจากแผ่นดินหรือการท่วมล้นของแม่น้ำที่ไหลเข้ามาในแอ่งน้ำเท่านั้น สำหรับ กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่พบจะแตกต่างกันไปตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ภายในสระน้ำ โดยบริเวณผิวน้ำจะพบ แพลงก์ตอน สาหร่าย และพืชลอยน้ำ เช่น บัว จอก แหน ผักแว่น ฯลฯ ถัด ลงมากลางน้ำ พบสิ่งมีชีวิตว่ายน้ำอย่างอิสระ ปลาดุก ปลาช่อน จระเข้ งู ส่วนพื้นน้ำจะพบสัตว์หน้าดิน เช่น กอย กุ้ง และพืชไม้ใต้น้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายพุงชะโด สันตะวาใบพาย เป็นต้น

ระบบนิเวศน้ำกร่อย

ป่าชายเลน เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบประเภทหนึ่งที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งเชื่อมต่อกับ แม่น้ำ ลำธาร เช่น ปากแม่น้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะใน พื้นดินมักเป้นดินเลนที่เกิดจากการตกตะกอน ทำให้พืชที่อาศัยอยู่ต้องมีการปรับตัวเพื่อทนต่อสภาพน้ำเค็ม เช่น ทีรากที่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ เรียก “รากหายใจ” ใบมีลักษณะหนา มัน เพื่ออุ้มน้ำได้มาก พันธุ์ ไม้ในป่าชายเลนมีการแบ่งเขตแนวสนขึ้นอย่างชัดเจน เรียงลำดับจากเขตนอกสุดที่ติดริมฝั่งน้ำคือ ไม้โกงกาง ไม้แสม ไม้ถั่ว ไม้ตะบูน ไม้โปรง ฝาด และเขตสุดท้ายเป็นแนวต่อระหว่างป่าชายเลน กับป่าบกจะทีกลุ่มไม้เสม็ดขึ้นอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น