วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน
๑. ความสมบูรณ์ของการทำสัญญาจ้างแรงงาน
นายจ้างและลูกจ้างมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกันโดยทำเป็นหนังสือหรือ
โดยปากเปล่าก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งถ้ามีการแสดงเจตนาขัดต่อกฎหมายดังกล่าว
ย่อมทำให้ตกเป็นโมฆะได้
๒. การคุ้มครองกำหนดเวลาในการทำงาน
ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ดังต่อไปนี้
(๑) งานอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน ไม่เกินสัปดาห์ละ ๔๘ ชั่วโมง
(๒) งานขนส่ง เช่น การส่งของ การขับรถโดยสาร ไม่เกินวันละ ๘ ชั่วโมง
(๓) งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
เช่น งานที่ต้องทำใต้ดิน, ในน้ำ งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ เป็นต้น ไม่เกินสัปดาห์ละ ๔๒ ชั่วโมง
(๔) งานพาณิชยกรรม หรืองานอื่น ซึ่งไม่ใช่งานตามข้อ (๑), (๒), (๓) เช่น การซื้อขาย, แลกเปลี่ยน,
ให้, เช่าทรัพย์, รับประกันภัย การธนาคารไม่เกินสัปดาห์ละ ๕๔ ชั่วโมง
๓. สิทธิของลูกจ้างในการพักผ่อนระหว่างทำงาน
- ในวันที่ทำงาน นายจ้างต้องกำหนดให้ลูกจ้างมีเวลาพักอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อวัน ภายหลังที่ได้ให้
ทำงานไปแล้วไม่เกิน ๕ ชั่วโมง แต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ ๑
ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าครั้งละ ๒๐ นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องมีเวลาพักไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง
- กรณีที่กล่าวมา ไม่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ทำงานในหน้าที่ที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปโดยได้รับ
ความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว หรือเป็นงานฉุกเฉินที่หยุดไม่ได้
๔. สิทธิของลูกจ้างในการมีวันหยุด
(๑) ชนิดของวันหยุด
- วันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์
ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน ๖ วัน นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์
วันใดก็ได้ หรืออาจจะตกลงล่วงหน้าให้มีการสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ใน
ระยะเวลาไม่เกิน ๔ สัปดาห์ติดต่อกัน
- วันหยุดตามประเพณี ปีหนึ่งนายจ้างต้องประกาศวันหยุดไม่น้อยกว่า ปีละ ๑๓ วัน โดยรวม
วันแรงงานแห่งชาติด้วย และถ้าวันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ก็ให้เลื่อนวันหยุดตาม
ประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันทำงานถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น