วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สารเสพติดและผลต่อร่างกาย

สารเสพติดและผลต่อร่างกาย

ใบความรู้
สารเสพติดทุกชนิดล้วนเป็นมหันตภัย เพราะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทำลายความสงบสุขของครอบครัวและสังคม การหลีกเลี่ยงจากสารเสพติดจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ตนเอง ครอบครัว และสังคม มีความแข็งแรง ปลอดภัย และสงบสุข ความหมายของสารเสพติด
องค์การ อนามัยโลกให้ความหมายของสารเสพติดไว้ว่า สารเสพติด หมายถึง สิ่งที่รับเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน ฉีด สูบ หรือดมติดต่อกันชั่วระยะหนึ่งแล้วมีผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ ดังนี้
1. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพต่อไปเรื่อย ๆ2. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสารเสพติดให้มากขึ้น3. เมื่อถึงเวลาต้องการเสพแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการอยากยา โดยแสดงออกในลักษณะต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำหูน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว เป็นต้น4. ผู้ที่ใช้สารเสพติดเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
การแบ่งประเภทของสารเสพติดตามการออกฤทธิ์

­
­


4. ออกฤทธิ์หลอนประสาท ผู้เสพจะรู้สึกเพ้อฝัน สะลึมสะลือ สารนี้จะพบในแอลเอสดี เห็ดขี้ควาย
1. ออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ผู้เสพในระยะแรก จะมีอาการแบบหนึ่ง สักพักก็จะมีอาการเปลี่ยนไปจากเดิม สารนี้จะพบในกัญชา
2. ออกฤทธิ์กดประสาท ผู้เสพจะรู้สึกไม่อยากทำงาน เฉื่อยชา อ่อนเพลีย สารนี้จะพบในฝิ่น เฮโรอีน เหล้าแห้ง สารระเหย

สารเสพติดในประเทศไทยสารเสพติดให้โทษมีมากมายหลายประเภท สำหรับประเทศไทยสารเสพติดที่รู้จักกันดี ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม ยาบ้า เอ็คตาซี (ยาอี) สารระเหยสาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติด
สาเหตุสำคัญของการติดสารเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นมักเกิดจาก
1. การถูกชักชวน มักจะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัว ขาดความอบอุ่น เชื่อเพื่อน อาศัยเพื่อนเป็นที่พึ่ง
2. การอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น โดยมีความคิดว่าจะไม่ติดง่าย ๆ แต่เมื่อทดลองเสพเข้าไปแล้วมักจะมีความคิดอยากกลับมาเสพอีก
3. การถูกหลอกลวง ผู้ถูกหลอกลวงไม่ทราบว่าเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง คิดว่าไม่มีพิษร้ายแรง ผลสุดท้ายก็กลายเป็นผู้ติดสารเสพติด
4. สาเหตุทางกาย ผู้เสพต้องการบรรเทาความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ต้องถูกผ่าตัดหรือเป็นโรคปวดศีรษะ โรคมะเร็ง จึงหันเข้าหาสารเสพติดจนติดยาในที่สุด
5. ความคึกคะนอง ต้องการแสดงความเด่นดังอวดเพื่อน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้ติดสารเสพติดในที่สุด
6. สิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งชุมชนแออัด แหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด หรือสภาวะทางเศรษฐกิจบีบคั้นจิตใจ โดยคิดว่าจะช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจาก ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นได้
บุหรี่และแอลกอฮอล์การสูบบุหรี่ทำให้ปอดถูกทำลายเนื่องจากในควันบุหรี่มีส่วนประกอบทางเคมีที่ให้โทษ
คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นแก็สที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และกันไม่ให้แก็สออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้น ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นด้วย
ผู้สูบบุหรี่ จะมีความรู้สึกว่า ต้องการนิโคตินและพวกเขาจะกลายเป็นคนติดบุหรี่
นิโคติน เป็นสารพิษ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยากขึ้น
หลายอย่าง ดังนี้
ทาร์ และสารอื่น ๆ ที่อยู่ในควันของยาสูบ ทำให้ปอดระคายเคือง หากมีควันไอมาก จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น

แอลกอฮอล์เป็นสารที่ก่อให้เกิดความมึนเมา นักเรียนอาจกลายเป็นคนติดของมึนเมาได้ ถ้าดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกวัน แม้จะดื่มในปริมาณน้อย สำหรับผู้ที่ดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ จะทำให้ผู้ดื่มมีอาการครึกครื้นสนุกสนาน ร่าเริง ทำให้ผู้ดื่มมีพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ ตารางแสดงความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดกับอาการของผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น