วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มารยาทไทย

มารยาท หรือ มรรยาท หมายถึง กิริยาอาการ ที่ควรประพฤติปฏิบัติ อย่างมีขอบเขต หรือ มีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมแก่ กาละ เทศะและสังคม มารยาทไทย เป็นการเจาะจงในแบบแผนแห่งการประพฤติปฏิบัติแบบไทย ที่บรรพบุรุษได้พิจารณากำหนดขึ้นและดัดแปลงแก่ไขใช้สืบทอดกันมา

คำว่า "มารยาท" หรือ "มรรยาท" มีที่ใช้ในภาษาไทยทั้ง ๒ คำ หมายถึง กิริยาอาการที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างมีขอบเขตหรือมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมแกกาลเทศะและสังคม กล่าวโดยรูปศัพท์ “มารยาท” หรือ “มรรยาท” ดัดแปลงมาจากภาษาบาลีว่า “มริยาท” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “มรยาท” ซึ่งแปลว่า “ขอบเขต” หรือ “คันนา” ก็ได้ แปลว่า "ระเบียบแบบแผน” ก็ได้ สุดแต่จะใช้หมายถึงรูปธรรมหรือนามธรรม
ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า “มริยาท” ในภาษาบาลีทั้งในความหมายว่า “คันนา” และความหมายว่า “ระเบียบแบบแผน” เป็นการใช้คำเพื่ออธิบายเปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมศีลธรรมและแบบแผนอันดีงาม
มารยาทไทย เป็นการเจาะจงชี้แจงให้ทราบถึงขอบเขตหรือระเบียบแบบแผนแห่งการประพฤติปฏิบัติแบบไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้พิจารณากำหนดขึ้นและดัดแปลงแก้ไขใช้สืบทอดกันมา จำแนกเป็น

ประเภท : การยืน

การเดิน

การนั่ง

การนอน

การแสดงความเคารพ

การรับของและการส่งของ

ที่มาของข้อมูล

๑. คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. มารยาทไทย. พิมพ์ ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๖. ๑๐๐ หน้า ภาพประกอบ.
๒. มารยาทไทย. พิมพ์ ครั้งที่ ๔ . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙. ๑๐๐ หน้า ภาพประกอบ.
๓. มารยาทไทยและราชาศัพท์. กรุงเทพฯ: บรัทวิคตอรี่ พาวเวอร์พอยท์จำกัด , ม.ป.ป. ๑๐๓ หน้า. ภาพประกอบ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น